วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562

2.2 อนุภาคในอะตอมแล้วไอโซโทป

อนุภาคในอะตอม
อนุภาคขนาดเล็กคือโปรตอน, นิวตรอน และอิเล็กตรอน มีคุณสมบัติต่างกันดังตาราง

อนุภาค
สัญลักษณ์
ประจุ(คูลอมบ์)
น้ำหนัก(กิโลกรัม)
โปรตอน
p
+1.60x10-19
1.67x10-27
นิวตรอน
n
ไม่มีประจุ
1.67x10-27
อิเล็กตรอน
e-
-1.60x10-19
9.11x10-31

ที่มา:mahidol
จากตาราง
           อะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีประจุบวกเท่ากับประจุลบ แสดงว่าในอะตอมมีจำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนซึ่งในอะตอมจะมีโปรตอนจำนวนเท่ากับ "เลขอะตอม"
                        จำนวนโปรตอน = จำนวนอิเล็กตรอน
               โปรตอนกับนิวตรอนเป็นอนุภาคที่มีน้ำหนักมากเมื่อเทียบกับอิเล็กตรอน ดังนั้นมวลของอะตอมก็คือจำนวนโปรตอนรวมกับจำนวนนิวตรอน นั่นคือ "เลขมวล"
                    เลขมวล = จำนวนโปรตอน + จำนวนนิวตรอน

เลขอะตอม เลขมวล และไอโซโทป



ที่มา:boonmawong

     เลขอะตอม คือ จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของแต่ละอะตอมของธาตุ ในอะตอมที่เป็นกลางจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากับจ้านวนอิเล็กตรอน

     เลขมวล คือ ผลรวมของนิวตรอนและโปรตอนที่มีในนิวเคลียสของอะตอมของธาตุ นิวเคลียสในอะตอมอื่นๆ
ทั้งหมดจะมีทั้งโปรตอนและนิวตรอนอยู่

     ไอโซโทป (isotope) หมายถึง อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันที่มีเลขอะตอม (Z) เท่ากัน แต่เลขมวล (A) ไม่เท่ากัน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างข้อสอบ PAT 2

ที่มา :  https://www.tutorferry.com/2016/11/pat2-chem-key.html