วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

1.4หน่วยวัด

1.4หน่วยวัด

                การระบุหน่วยการวัดปริมาณต่างๆในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นตวามยาว มวล อุณหภูมิ อาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น กาารระบุน้ำหนักเป็นกิโลกรัม ปอนด์ หรือ การระบุส่วนสูงเป็น เซนติเมตร ฟุต ซึ่งทำให้ไม่สะดวกในการเปรียบเทียบหรือสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน และในบางกรณีอาจนำไปสู๋ความเข้าใจผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายได้ ดังนั้น เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลจากการวัดเป็นที่เข้าใจตรงกัน จึงมีการตกลงร่วมกันให้มีหน่วยมาตรฐานสากลขึ้น

1.4.1 หน่วยในระบบเอสไอ

                ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ หรือ ระบบเอสไอ (อังกฤษ: International System of Units; ฝรั่งเศส: Système international d'unités: SI) เป็นระบบการวัดที่ปรับปรุงมาจากระบบเมตริก โดยเน้นการสร้างมาจากหน่วยฐานทั้งเจ็ดหน่วยและใช้ระบบเลขฐานสิบ ซึ่งถือว่าเป็นระบบการวัดที่ใช้แพร่หลายที่สุดในโลกทั้งในชีวิตประจำวันและทางวิทยาศาสตร์
ระบบเมตริกแต่เดิมนั้นแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม โดยระบบเอสไอได้รับการพัฒนามาจากระบบหน่วยเมตร-กิโลกรัม-วินาที (meter-kilogram-second: MKS) ในปี 1960 และได้ปรับเปลี่ยนนิยามรวมถึงเพิ่มลดหน่วยฐานเอสไอมาตลอดตามการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการวัด เพื่อเพิ่มความเที่ยงตรงในการวัดมากขึ้น
                ระบบเอสไอเป็นระบบที่ใช้กันเกือบทั้งโลก มีเพียงสามประเทศที่ยังไม่ใช้หน่วยเอสไอเป็นมาตรฐานของหน่วยวัด ได้แก่ ไลบีเรีย พม่า และ สหรัฐอเมริกาแม้ในอังกฤษเองได้ยอมรับให้ใช้ระบบเอสไออย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะไม่สามารถทดแทนระบบดั้งเดิมได้ทั้งหมด
                
                 หน่วยเอสไอพื้นฐาน


                 หน่วยเอสไออนุพันธ์


                  หน่วยนอกระบบเอสไอ


1.4.2 แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย

              แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย เป็นอัตราส่วนระหว่างหน่วยที่แตกต่างกัน 2 หน่วย ที่มีปริมาณเท่ากัน 
ตัวอย่างเช่น เราต้องการอยากทราบว่า 12 กิโลเมตร เป็น กี่เมตรทำดังนี้คือ
เราทราบว่า 1000 เมตร = 1 กิโลเมตร
ดังนั้น (1000เมตร/1 กิโลเมตร) = 1 และ (1 กิโลเมตร/1000 เมตร) = 1 *(เพราะว่ามันเท่ากัน)
เมื่อนำไปคูนกับสิ่งที่กำหนดให้ มันก็จะได้คำตอบที่เราต้องการดังนี้
12 กิโลเมตร x (1000เมตร/1 กิโลเมตร) = 12000 เมตร
ถ้าเราใช้ผิดจะไม่ได้สิ่งที่ต้องการเช่น
12 กิโลเมตร x (1 กิโลเมตร/1000เมตร) = 12/1000 ( กิโลเมตร^2 /เมตร) ซึ่งเป็นหน่วยแปลก ๆ
ดังนั้น (1000เมตร/1 กิโลเมตร) เป็นแฟคเตอร์ในการแปลงหน่วย กิโลเมตร เป็นเมตร
สำหรับเรื่องความเข้มข้น ในเรื่องสารละลาย
เราสามารถใช้ ยูนิตแฟคเตอร์ได้เช่นกัน เช่น ต้องการเปลี่ยนความเข้มข้นจาก % มวล/ปริมตร เป็นโมล/ลิตรดัง
ตัวอย่างสารละลายกลูโคส 9 % โดยมวล/ปริมตร มีความเข้มข้นเท่าใดในหน่วยโมล/ลิตร กำหนดให้มวลต่อโมลของกลูโคสเป็น 180 g/mol
เราทราบว่า กลูโคสเป็น 180 g = 1 mol นั่นคือ (1 mol /180 g) = 1 เป็นแฟคเตอร์ที่จะเปลี่ยน g ให้เป็น mol
1 L = 1000 ml (1 L / 1000 ml) =1 เป็นแฟคเตอร์ที่จะเปลี่ยน ml ให้เป็น L
สารละลายกลูโคส 9 % โดยมวล/ปริมตร = สารละลายกลูโคส (9 g /สารละลาย 100 ml )
= (10 g)(1 mol/180 g)/(100ml)(1 L/1000 ml)
= 0.5 mol/L


วิธีการเทียบหน่วย

 ปริมาณและหน่วยที่ต้องการ = ปริมาณและหน่วยเริ่มต้น x หน่วยที่ต้องการ/หน่วยเริ่มต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างข้อสอบ PAT 2

ที่มา :  https://www.tutorferry.com/2016/11/pat2-chem-key.html